หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : เพกา

ชื่อต้น : เพกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (L.) Kurz
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น ๆ มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ), ลิ้นฟ้า (เลย)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. ใบประกอบ 2–4 ชั้น เรียงตรงข้าม ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่งยาว 60–170 ซม. รวมก้าน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปแกมขอบขนาน ยาว 5–13 ซม. ปลายแหลมยาว โคนเบี้ยว ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 1.5 ม. ดอกเรียงแน่นที่ปลายช่อ ก้านดอกยาว 2–7 ซม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 2–4 ซม. ขอบเรียบ ดอกติดทน รูปแตร หนา สีม่วงอมน้ำตาลแดง ด้านในสีครีม โคนมีปื้นสีน้ำตาลแดง หลอดกลีบดอกช่วงโคนยาวประมาณ 1.5 ซม. โคนกางออก จานฐานดอกจัก 5 พู ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรจัก 2 พูตื้น ๆ ยาวประมาณ 7 มม. ผลแห้งแตกตามรอยประสาน รูปแถบ แบน ยาว 40–120 ซม. เปลือกหนา เมล็ดกลม มีปีกบาง ๆ ยาว 6–7 ซม. พบที่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่า ที่ความสูงถึงประมาณ 1,200 ม.

ประโยชน์/สรรพคุณ
ราก บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง เปลือก เป็นยาฝาดสมาน ขับเหงื่อ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไขข้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน ใบ แก้ปวดท้อง แก้ปวดข้อ ฝัก บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำหนัด เมล็ด เป็นยาระบาย
พิมพ์ QR Code