Home / Wissen / ชื่อต้น : สักสยามมินทร์ (สัก)

ชื่อต้น : สักสยามมินทร์ (สัก)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 50 เมตร ผลัดใบลำต้นเปลาตรงมักมีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลปนเทา
ใบ เป็นใบเดี่ยวติดตรงข้ามเป็นคู่ๆ มีขนาดใหญ่ โคนใบมนหรือสอบแคบ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม เนื้อใบสากคาย
ดอก เล็กสีขาวนวล ออกรวมกันเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือ ตามง่ามใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันบริเวณโคนกลีบส่วนปลายจะแยกเป็นแฉก 5-7 แฉกกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดเกลี้ยงๆ ปลายแยกเป็น 5-7 แฉก
ผล เป็นผลแห้งค่อนข้างกลม ภายในมีเมล็ด 1-3 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
เป็นไม้ถิ่นเดิมของไทยและพม่า พบตามป่าเบญจพรรณภาคเหนือที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 900 เมตร และมีเป็นหย่อมๆ ทางภาคตะวันตก ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ออกดอกเดือนมิถุนายน - ตุลาคม
ประโยชน์
1. ราก เนื้อไม้ และ ใบ ให้สีแดง เขียว ใช้ย้อมผ้า และ กระดาษ
2. เนื้อไม้ ทนทาน สวยงาม ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน เครื่องแกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเกษตร เครื่องดนตรี ด้านสมุนไพร เนื้อไม้และใบ ใช้ทำยาแก้โรคเบาหวาน ปัสสาวะพิการ ขับลมในลำไส้ แก้ไตพิการ ใช้ต้มและเอาน้ำอาบเด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใส เปลือกใช้เป็นยาคุมธาตุ


QR Code drucken