主页 / 知识 / ชื่อต้น : สักสยามมินทร์ (สัก)

ชื่อต้น : สักสยามมินทร์ (สัก)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 50 เมตร ผลัดใบลำต้นเปลาตรงมักมีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลปนเทา
ใบ เป็นใบเดี่ยวติดตรงข้ามเป็นคู่ๆ มีขนาดใหญ่ โคนใบมนหรือสอบแคบ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม เนื้อใบสากคาย
ดอก เล็กสีขาวนวล ออกรวมกันเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือ ตามง่ามใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันบริเวณโคนกลีบส่วนปลายจะแยกเป็นแฉก 5-7 แฉกกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดเกลี้ยงๆ ปลายแยกเป็น 5-7 แฉก
ผล เป็นผลแห้งค่อนข้างกลม ภายในมีเมล็ด 1-3 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
เป็นไม้ถิ่นเดิมของไทยและพม่า พบตามป่าเบญจพรรณภาคเหนือที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 900 เมตร และมีเป็นหย่อมๆ ทางภาคตะวันตก ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ออกดอกเดือนมิถุนายน - ตุลาคม
ประโยชน์
1. ราก เนื้อไม้ และ ใบ ให้สีแดง เขียว ใช้ย้อมผ้า และ กระดาษ
2. เนื้อไม้ ทนทาน สวยงาม ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน เครื่องแกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเกษตร เครื่องดนตรี ด้านสมุนไพร เนื้อไม้และใบ ใช้ทำยาแก้โรคเบาหวาน ปัสสาวะพิการ ขับลมในลำไส้ แก้ไตพิการ ใช้ต้มและเอาน้ำอาบเด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใส เปลือกใช้เป็นยาคุมธาตุ


打印二维码