หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : ช้างไห้

ชื่อต้น : ช้างไห้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neesia malayana Bakh.
วงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่น ๆ ช้างร้องไห้ (ตรัง); ช้างไห้ (ปัตตานี); ตะแหนด, แหนด (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป
ปาล์มลำต้นเดี่ยว แยกเพศต่างต้น สูงได้ถึง 20 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 ซม.
ใบรูปพัดห่อลู่ลง (costapalmate)เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 ม. แยกเป็นแฉกลึก 70-80 แฉก ยาว 1.4-1.7 ม. ห่อลู่ลง แฉกย่อยแฉกเกินหรือประมาณกึ่งหนึ่ง ก้านใบยาว 3-4 ม. ด้านบนเป็นร่อง ลึก ขอบเรียบ คมคล้ายมีด โคนแยกเป็นสามเหลี่ยม กาบแยกจรดโคน มีเส้นใยตามขอบ
ช่อดอกคล้ายช่อเชิงลด ออกตามซอกกาบ กาบประดับร่วงเร็ว ใบประดับเรียงซ้อนเหลื่อมหนาแน่น ช่อดอกเพศผู้แตกแขนง 5-9 ครั้ง แกนช่อยาว 1-1.5 ม. ก้านช่อยาว 20-40 ซม. ช่อดอกแขนงมี 3-4 ช่อ ยาว 30-40 ซม. ดอกออกเป็นกระจุก 2-6 ดอก ดอกยาว 1.7-2 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้ 6-15 อัน ช่อดอกเพศเมีย แกนช่อยาว 40-60 ซม. ก้านช่อยาว 30-50 ซม. บางครั้งแตกแขนง 1-3 ครั้ง ดอกออกเดี่ยว คล้ายดอกเพศผู้ ยาว 2.8-3.2 ซม. รังไข่มี 3 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียไร้ก้าน ติดทน
ผลรูปไข่กว้าง ยาว 8-16 ซม. ผลแก่สีดำ ผิวเรียบ ผนังผลชั้นกลางหนาเป็นเส้นใย ผนังชั้นในแข็งมีริ้ว มี 3 เมล็ด

ประโยชน์/สรรพคุณ
ปลูกเป็นไม้ประดับ
พิมพ์ QR Code