หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : ช้าพลู

ชื่อต้น : ช้าพลู

วงศ์ PIPERRACEAE
ชื่ออื่น ๆ นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรียง แม่ฮ่องสอน) Betel, Vietnamese pepper.

ลักษณะ พืชล้มลุก อายุหลายปี สูงได้ถึง ๖๐ ซม. ใบ เดี่ยว ก้านใบยาว ๑–๘ ซม. แผ่นใบด้านล้างคล้ายรูปหัวใจหรือรูปหัวใจแกมรูปไข่ กว้าง ๕–๘ ซม. ยาว ๗–๑๕ ซม. ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมนเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ใบข้างบนหรือใกล้ยอดมีรูปขอบขนานแกมรูป เฉียง ปลายใบแหลมโคนใบเบี้ยว ดอก ช่อกระจะ ตั้งตรงจากข้อที่มีใบอยู่ตรงกันข้าม ดอกย่อยไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอยู่ รวมกันแน่น ช่อดอกยาว ๑–๒ ซม. ใบประดับสีขาว มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ ซม. เกสรเพศผู้ก้านสั้น ยอด เกสรเพศเมีย ๓–๔ แฉก ผล เชื่อมติดกัน เชื่อมติดกับใบประดับ ปลายแยก ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑–๓ มม. ไม่มีก้าน ผลสุกสีดำ เกสรเพศเมียและใบประดับติดคงทน พบทั่วไปในประเทศไทย ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ใกล้ฝั่งน้ำหรือพื้นที่กึ่งร่ม ตามป่า เบญจพรรณ และป่าชนิดอื่นๆ ที่ระดับพื้นล่างถึงพื้นที่สูง ๘๐๐ ม. เหนือระดับทะเล ในต่างประเทศพบที่อินเดีย จีน ตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน ลงไปทางใต้ถึงฟิลิปปินส์

สรรพคุณ/ประโยชน์ รากต้มน้ำดื่มแก้ท้องเดิน รากและใบบดผสมเกลืออมแก้ปวดฟัน ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มเป็นยา ขับลมในท้อง รากและใบใช้เป็นยาเจริญอาหารบำรุงธาตุ
พิมพ์ QR Code