,
/ / ชื่อต้น : ไผ่รวก

ชื่อต้น : ไผ่รวก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys siamensis Gamble
วงศ์ POACEAE
ชื่ออื่น ๆ ตีโย (ภาคกลาง) ไผ่ฮวก (ภาคเหนือ) ว่าบอบอ แวบ้าง แวปั่น (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) สะลอม (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป
พืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ สูง ๗–๑๕ ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒–๖ ซม. ผิวค่อนข้างเรียบ ปล้องยาว กาบหุ้มลำต้น ใบ รูปเรียวแคบแกมรูปหอก ยาว ๗–๒๒ ซม. กว้าง ๐.๕–๑.๕ ซม. ปลายเรียวเเหลม โคนป้านหรือ เกือบ กลม ท้องใบมีขน ขอบใบสากและคม ก้านใบสั้น
ดอก ออกดอกบนกิ่งที่มีใบหรือไม่มีใบ มีแกช่อและแขนงช่อดอกจ านวนมาก ช่อดอกย่อยยาวประมาณ ๑๗ มม. ประกอบด้วยกาบช่อย่อย ดอกสมบูรณ์เพศ ๒ ดอก เป็นหมัน ๑ ดอก
ผล แบบธัญพืชขนาดกว้าง ประมาณ ๒.๕ มม. ยาวประมาณ ๕ มม. มีจะงอยยาวอ่อน สีเหลืองผิวเกลี้ยงติดอยู่ ขึ้นในทที่แห้งแล้งถึงที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ป่าเบญจพรรณ ป่าสัก ป่าเต็งรัง มนละดับต่ำถึงระดับความสูง ๑,๒๐๐ ม.เหนือระดับทะเล ต่างประเทศพบที่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต

ประโยชน์/สรรพคุณ
รากขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษามุตกิด แก้หนองใน ใบขับปัสสาวะ ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ หน่อไม้บำรุงร่างกาย แก้สตรีตกเลือดไม่หยุด แก้โรคตา แก้ฝี ขุยไผ่ แก้บิด แก้โรคตาแดง แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้
ใช้ก่อสร้าง ไม้ประดับ เครื่องตกแตงภายในบ้าน