主页 / 知识 / ชื่อต้น : สะตือ / Rasamala

ชื่อต้น : สะตือ / Rasamala

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crudia chrysantha (Pierre) K. Schum.
วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่น ๆ ดู่ขาว เดือนไก่ (สุโขทัย) ประดู่ขาว (สุรินทร์) แห้ (สกลนคร)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น สูงได้ถึง ๘–๒๕ ม. มีขนสั้นนุ่มสีเทาตามกิ่งอ่อน ช่อดอก กลีบเลี้ยงด้านใน และรังไข่ หูใบเล็กร่วงเร็ว ใบ ประกอบปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อยมี ๔–๖ ใบ เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่ ยาว ๓–๘ ซม. กว้าง ๒–๕ ซม. ปลายแหลมยาว ส่วนปลายมนโคนกลมหรือมน ก้านใบยาว ๒–๓ มม. ดอก ออกเป็นช่อคล้ายช่อเชิงลด ออกตามซอกใบ ก้านดอกยาว ๓–๔ มม. ใบประดับและใบประดับ ย่อย ขนาดเล็กร่วงเร็ว ฐานดอกสั้น กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมรูปไข่ ด้านนอกพับงอกลับ ไม่มีกลีบ ดอก เกสรเพศผู้ ๘–๑๐ อัน แยกกัน รังไข่มีขน ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ผล รูปรี แบน ยาว ๕–๖ ซม. แห้งแตก มีขนกำมะหยี่หนาแน่น มี ๑–๒ เมล็ด คล้ายเมล็ดถั่ว ยาว ประมาณ ๓ ซม. สีน้ำตาล พบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบกระจายห่างๆ ทาง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่ปราจีนบุรี ขึ้นตามที่ราบ ท้องนา และริมลำธารในป่าดิบแล้ง ความสูงระดับต่างๆ

ประโยชน์/สรรพคุณ
ปลูกให้ร่มเงาในที่สาธารณะหรือริมน้ำ ใบใช้ต้มอาบแก้อีสุกอีใส โรคหัด เปลือก ต้นใช้ ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พระราชพงศาวดารกล่าวว่า ทัพพระยาตากยึดเมืองระยองได้ ตั้งค่ายพักอยู่บริเวณวัดลุ่มหรือวัดลุ่มมหาชัยชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภายในวัดมีต้นสะตือใหญ่ต้นหนึ่ง ที่เชื่อว่าเคยเป็นที่เจ้าตากผูกช้างศึกในครานั้น

Significance The historical record states that after the siege of Rayong, the army of Phraya Tak (later became King Taksin) encamped at Wat (Temple) Lum or Wat Lummahachai Chumphon, Mueang District, Rayong Province. A large crudia chrysantha (Pierre) K.Schum, believed to be the tying spot of Phraya Tak’s battle elephant, is grown there.
打印二维码