主页 / 知识 / ชื่อต้น : เปล้าใหญ่

ชื่อต้น : เปล้าใหญ่

วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น ๆ เปาะ (กำแพงเพชร), ควะวู (กาญจนบุรี), เปล้าหลวง (ภาคเหนือ), ‎เซ่งเค่คัง สะกาวา สกาวา ส่ากูวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ห้าเยิ่ง (ชาน-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 10–15 ม.ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนาน กว้าง 4–12 ซม. ยาว 10–32 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย ต่อมติดที่โคนเส้นกลางใบด้านล่าง ก้านใบยาว 1–5 ซม. ดอกช่อ ยาว 9–36 ซม. ใบประดับยาว 1–3 มม. กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ 10–12 อัน ดอกเพศเมียก้านดอกยาว 2.5–5 มม. กลีบเลี้ยงรูปรี ยาว 2.5–3 มม. มีขนหนาแน่น ไม่มีกลีบดอกหรือลดรูป ก้านเกสรเพศเมียแยกกัน ยอดเกสรยาว 3–4 มม. ผลทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6–8 มม. มีขนสั้นนุ่มประปราย พบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน บังกลาเทศ พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 30–500 ม.

สรรพคุณ/ประโยชน์ ราก แก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน เปลือก ลดไข้ แก้ตับอักเสบ แก้ปวดข้อ เปลือก และกระพี้ ช่วยย่อยอาหาร แก่น ขับพยาธิ ใบ รักษาโรคผิวหนัง แก้คันตามตัว แก้ฟกช้ำ แก้ลมจุกเสียด ดอก ขับพยาธิ เมล็ด เป็นยาถ่าย
打印二维码