หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : ตะคร้อ

ชื่อต้น : ตะคร้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schleichera oleosa (Lour.) Merr.
วงศ์ SAPINDACEAE
ชื่ออื่น ๆ กาซ้อ กาซ้อง ค้อ คอส้ม คุ้ย เคาะ เคาะจ้ก ซะอู่เสก ตะคร้อไข่ ปั้นโรง มะเคาะ มะโจ้ก Ceylon oak

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น สูงได้ถึง 40 ม. ปลายยอดเป็นติ่งคล้ายหูใบ ใบประกอบปลายคู่ มีใบย่อย 2-4 คู่ ก้านยาว 2-6 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 4.5-25 ซม. โคนเบี้ยว แผ่นใบด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 1-3 มม. บวม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดงหรืออมม่วง ช่อดอกคล้ายช่อกระจุกไม่แยกแขนง ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกเหนือรอยแผลใบ ยาว 6-15 ซม. ดอกมีเพศเดียว กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก จานฐานดอกรูปวงแหวน ช่อดอกเพศผู้แตกแขนง ก้านดอกยาวประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันที่โคน กลีบรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 มม. มีขนหรือต่อมกระจาย เกสรเพศผู้ 5-9 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2 มม. มีขน ลดรูปในดอกเพศเมีย ช่อดอกเพศเมียส่วนมากไม่แตกแขนง รังไข่มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียหนา ยาวประมาณ 1.5 มม. ผลรูปรีเกือบกลม ยาว 1.5-2.5 ซม. ปลายมีติ่งแหลม มี 1-2 เมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีเยื่อหุ้มสดสีเหลืองอมน้ำตาล

ประโยชน์/สรรพคุณ
แก่น : ต้มน้ำดื่ม แก้ฝีหนอง
เปลือก : ต้มน้ำดื่มเป็นยาสมานท้อง แก้ท้องร่วง
น้ำมันจากเมล็ด : บำรุงผมแก้ผมร่วง
ใบและกิ่ง : ใบอ่อนกินสดหรือนำมาลวกกินเป็นผักเคียง ใบและกิ่งรวมถึงกากเมล็ดนำมาทำเป็นอาหารสัตว์
ลำต้น : ในประเทศอินเดียใช้ต้มตะคร้อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ครั่ง
เนื้อไม้ : นำมาทำฟีนและถ่ายได้ดี แก่นไม้ซึ่งมีความแข็งและทนทานสามารถนำมาทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้หลายชนิด เช่น ส่วนของด้ามจับครกบดยาด้ามขวานหรือพลั่ว และล้อเกวียน
เปลือกไม้ : เปลือกใช้เป็นยารักษาผิวหนังอักเสบ และแผลเปื่อยได้ดี
พิมพ์ QR Code