ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros rhodcalyx Kurz
วงศ์ EBENACEAE
ชื่ออื่น ๆ โก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นมงัว (นครราชสีมา) มะโก (ภาคเหนือ) มะก้านไฟผี (เชียงใหม่)
ลักษณะ ไม้ต้น สูง ๘–๑๕ ม. เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเกล็ดหนา ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับถึงรูปรี กว้าง ๒.๕-๗ ซม. ยาว ๕–๑๒ ซม. ปลายมนหรือหยักเว้าเข้า โคนสอบ ก้านใบยาว ๒–๗ มม. ใบค่อนข้างหนา ดอก ขนาดเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน แยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบแยก ๔ กลีบ ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆตามซอกใบ มีขนาดใหญ่กว่าดอก เพศผู้ ผล กลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕–๓ ซม. สุกสีส้มแดง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ทุ่งนา ที่ความสูงจากระดับทะเล ๔๐– ๓๐๐ ม. ต่างประเทศพบที่พม่า ลาว เวียดนาม
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื้อไม้ทำเครื่องมือทางกาเกษตร ผลอ่อนใช่ย้อมผ้า ผลแกรับประทานได้ รากแก้โรคเหน็บ ชา โรคทางเดินปัสสาวะ น้ำเหลืองเสีย แก้ปวดเมื่อย