วงศ์ Arecaceae
ชื่ออื่น ๆ ปาล์มหลังขาว, ทับหลังขาว
ลักษณะทั่วไป
พืชถิ่นเดียวของไทยพบทางภาคใต้ที่เขาพระแทว จังหวัดภูเก็ต พบว่าเป็นไม้สกุลใหม่ของโลกจัดเป็นไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ลำต้นกว้าง ๒๕ เซนติเมตร ใบคล้ายใบตาลทรงคล้ายพัด ลำต้นสูงเต็มที่ประมาณ ๕-๗ เมตร ก้านใบสีดำ ขอบใบเป็นแฉก หลังใบสีขาวขุ่นหรือสีเงินดูสดใส สามารถขูดออกเป็นขุยได้ เมื่อออกใบจะออกมาจากพื้นดินก่อนก้านใบเมื่อเจริญเต็มที่จึงจะเห็นก้านใบโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ชูใบให้เห็นเด่นชัด ดอกเป็นยวงสีขาวนวล จะออกระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนกุมภาพันธ์ จึงปรากฏผล ผลอ่อนมีลักษณะกวมเกลี้ยง เปลือกสีเหลืองคล้ายลางสาด ผลสุกสีเหลืองแก่และจะร่วงสู่พื้นดินเกิดต้นใหม่ต่อไป การขยายพันธุ์ทำโดยนำผลที่ร่วงแล้วมากะเทาะเปลือกออกให้เหลือแต่เมล็ดนำเมล็ดที่สมบูรณ์ไปเพาะในภาชนะรดน้ำให้ชุ่มจนสังเกตุเห็นรากงอกจึงนำลงถุงเพาะชำกล้าไม้ จนเติบโตเป็นต้นกล้านำไปปลูกในดินต่อไป
ประโยชน์/สรรพคุณ
ปาล์มหลังขาวเป็นไม้ที่ประชาชนนิยมนำไปปลูกประดับบ้าน กรมป่าไม้ได้ขยายพันธุ์ซึ่งจัดเป็นปาล์มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจซื้อขายในราคาแพงชนิดหนึ่ง ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ประดับมีรายได้มากขึ้น