ชื่อวิทยาศาสตร์ Phanera aureifolia (K. Larsen & S. S. Larsen) Bandyop., P. P. Ghoshal & M. K. Pathak.
วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่น ๆ ย่านดาโอ๊ะ
ลักษณะทั่วไป
ไม้เถา เนื้อแข็ง มีขนกำมะหยี่สีน้ำตาลหนาแน่นตามหูใบ แผ่นใบ ช่อดอก และฝัก ใบ รูปไข่กว้างเกือบกลม ยาวได้ถึง 20 ซม. โคนรูปหัวใจ ดอกช่อดอกแบบช่อกระจะแยกแขนงสั้น ๆ ตาดอกรูปรียาวประมาณ 1 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. ใบประดับรูปใบหอก ยาว 6 – 8 มม. กลีบเลี้ยง 3 – 5 กลีบ ดอกสีขาวเปลี่ยนเป็นสีครีม กลีบรูปใบพาย ยาว 1.5 – 1.8 ซม. ขอบจักมน เกสรเพศผู้ 3 อัน ยาวกว่ากลีบดอกเล็กน้อย อับเรณูสีชมพู เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 – 2 อัน รังไข่มีขนยาวสีน้ำตาลหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. ผล เป็นฝักรูปขอบขนาน ยาว 20 – 23 ซม. ก้านยาวประมาณ 1.5 ซม. มี 4–6 เมล็ด
เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย กระจายพันธุ์อยู่ในเขตจังหวัดนราธิวาส ยะลาและปัตตานี พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม นักพฤกษศาสตร์ จากหอพรรณไม้ กรมป่าไม้ ที่ วนอุทยานน้ำตกบาโจ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ได้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Nordic J. Bot. 11(6): 634 (1991)