ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น ๆ ชันนา ยางตัง (ชุมพร), ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก (ทั่วไป), ยางกุง (เลย), ยางควาย (หนองคาย), ยางเนิน (จันทบุรี), Yang
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง ๔๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างทึบ ลำต้นตรง
ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่กว้าง แผ่นใบด้านล่างพับเป็นจีบตามร่องเส้นใบ และมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมทั่วไป
ดอก ชมพู ออกเป็นช่อหลวมๆ น้อยดอกตามปลายกิ่ง ดอกย่อย มี ๕ กลีบเรียงเวียนกัน
ผล รูปรี มีครีบ ๔ ครีบ มีปีกสั้นคล้ายหูหนู๓ปีก ปีกยาวรูปขอบขนาน ๒ ปีก ขนาดยาว ๘-๑๕ ซม.
ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตศูนย์สูตรของทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงมาเลเซียและอินโดเนเชีย
ประโยชน์/สรรพคุณ
เป็นพืชเศรษฐกิจเนื้อไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน สิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ และนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับบริเวณข้างทาง น้ำยางที่เรียกว่ายางชัน ใช้เป็นเชื้อไฟและเป็นส่วนผสมของวัสดุทาเรือเพื่อกันน้ำ
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัด อุบลราชธานี