Home / Wissen / ชื่อต้น : ขันทองพยาบาท

ชื่อต้น : ขันทองพยาบาท

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflora (A.Juss.) Baill.
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น ๆ กระดูก(ใต้) / ขนุนดง(เพชรบูรณ์) / ขอบนางนั่ง(ตรัง) / ขัณฑสกร(จันทบุรี) / ขันทอง(กระบี่,พิจิตร) / ข้าวตาก(กลาง,ตะวันออก) / ขุนทอง, คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์) / ช้องรำพัน (จันทบุรี,ประจวบคีรีขันธ์) / ดูกไทร, ดูกไม้(เลย) / ดูกหิน(สระบุรี) / ดูกไหล(นครราชสีมา) / ทุเรียนป่า(ชุมพร,ลำปาง) / ป่าช้าหมอง (แพร่,เหนือ) / ไฟ(ตะวันออก,เหนือ) / มะดูก(กลาง,น่าน) / มะดูกดง(เชียงใหม่,ปราจีนบุรี) / มะดูกเลื่อม(เหนือ) / ยางปลอก(แพร่) / ยายปลวก(ตรัง,สุราษฎร์ธานี) / สลอดน้ำ(กลาง,จันทบุรี) / หมากดูก(กลาง,เชียงราย) / เหมือดโลด(ขอนแก่น,เลย) / ฮ่อสะพายควาย(กาญจนบุรี,เหนือ)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร แยกเพศต่างต้น หูใบเชื่อมติดกันขนาดเล็ก ร่วงเร็ว
ใบ เรียงเวียนรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 12-15 ซม. แผ่นใบมีจุดโปร่งแสง
ช่อดอก แบบช่อกระจุกสั้น ๆ ออกตรงข้ามใบ ก้านช่อยาวได้ถึง 1 ซม. ก้านดอกยาว 4-6 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบเรียงซ้อนเหลื่อม รูปรี ยาว 3-4 มม. ไม่มีกลีบดอก จานฐานดอกเป็นวง มีต่อมกระจาย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวเท่า ๆ กัน กลีบเลี้ยง อับเรณูติดด้านหลัง เป็นหมันในดอกเพศเมีย รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรแยก 2 แฉก
ผลสด ผนังชั้นในแข็ง จักเป็นพูตื้น ๆ ยาว 2.5-3.5 ซม. แตกเป็น 3 ส่วน มีคอลิวเมลลา
เมล็ด มีเยื่อหุ้มสีขาว

ประโยชน์/สรรพคุณ
น้ำคั้นจากใบใช้แก้ไข้
ลำต้น ต้มอาบสำหรับหญิงอยู่ไฟ
ราก รสเมาเบื่อร้อน แก้ลม แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง รักษาน้ำเหลืองเสีย
เปลือกต้น รสเมาเบื่อ แก้โรคตับพิการ แก้ปอดพิการ แก้ลมเป็นพิษ แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน รักษามะเร็ง รักษามะเร็งคุด เป็นยาถ่าย เป็นยาระบาย เป็นยาบำรุงเหงือก แก้เหงือกอักเสบ ทำให้เหงือกแข็งแรง ทำให้ฟันทน แก้ประดง ถ่ายน้ำเหลือง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน คุดทะราด แก้กามโรค
เนื้อไม้ รสเมาเบื่อ แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ แก้ประดงผื่นคัน แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ
QR Code drucken