หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : งิ้ว

ชื่อต้น : งิ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bombax ceiba Pierre
วงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่น ๆ งิ้วหนาม งิ้วบ้าน งิ้วแดง งิ้วปง งิ้วปงแดง

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ลำต้นสูง 25-30 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากในช่วงเรือนยอด เป็นไม้เนื้ออ่อนมีหนามแหลมอยู่ตามลำต้น ใบรวมประกอบด้วยใบย่อย 4-7 ใบ ใบเป็นมันค่อนข้างหนา ใบย่อยรูปรีปลายใบเรียวแหลมเรียงกันคล้ายกับรูปนิ้วมือ มีสีเขียวไม่มีขน ก้านใบสีขาวมองเห็นชัดเจน
ดอก : ขนาดใหญ่ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมี 5 กลีบ สีออกแดงหรือส้มปนสีเหลือง กลีบดอกมีขนปกคลุzมและกลีบดอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 10 ซม มีลักษณะแข็งเลื่อมเป็นมัน เมื่อมีดอกต้นจะทิ้งใบทั้งหมดส่วนกลางออกเป็นเกสรตัวผู้เรียง 3 แถว ยาวยื่นออกมาเป็นเส้นๆ
ผล : ผลรูปรีปลายแหลมยาว 6-8 นิ้ว เมื่อผลแก่จะเป็นสีน้ำตาลเปลือกผลแข็งเมื่อผลแก่จะมีปุยสีขาวปลิวออกมาตามลม เมล็ด เมล็ดสีดำ
ใบ : ใบรวมก้านใบก้านหนึ่งมีใบย่อยอยู่ 4-7 ใบ ใบย่อยนี้จะดอกมีขนาดใหญ่ออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอกอยู่ 3-5 ดอก สีแสดแดง สีส้ม สีเหลือง มี 5 กลีบ กลีบรองดอกเป็นสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปถ้วยมนแข็ง กลางดอกมีเกสรซ้อนเรียงกันอยู่ 3 ชั้น ตามกลีบดอกมีขนมันเป็นเงาปกคลุมอยู่ เวลาที่ออกดอกจะทิ้งใบหมดมี 5 กลีบ กลีบรองดอกเป็นสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปถ้วยมนแข็ง ดอกบานเต็มที่ประมาณ 10 ซม. กลางดอกมีเกสรซ้อนเรียงกันอยู่ 3 ชั้น ตามกลีบดอกมีขนมันเป็นเงาปกคลุมอยู่

ประโยชน์/สรรพคุณ
เปลือกต้นช่วยบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการบวม จากการกระแทก รักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง บรรเทาอาการท้องเดิน แก้บิด อัมพาต เอ็นอักเสบ
ดอกช่วยห้ามเลือด รักษาแผล ฝีหนอง บรรเทาอาการท้องเดิน บิดมูกเลือด ช่วยขับปัสสาวะ
รากหรือเปลือกรากใช้สมานแผล ห้ามเลือด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก รากเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้อาเจียน
ผลอ่อนใช้บำบัดรักษาแผลเรื้อรังในไต เมล็ดใช้เป็นยาร่วมกับพิมเสนรักษาโรคหนองในเรื้อรัง
ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย นำใบสดแช่น้ำ ต้มอาบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย
พิมพ์ QR Code