หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : เชียด

ชื่อต้น : เชียด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume
วงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น ๆ กระแจโมง, กะเชียด, กะทังนั้น, กระดังงา, เขียด, เคียด, เฉียด, ชะนุต้น, บอกคอก, ฝักดาบ, พญาปราบ, มหาปราบตัวผู้, อบเชย, อบเชยต้น, สะวง

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะทัวไป :
ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 – 20 ม. ทรงพุ่มกลม หรือรูปเจดีย์ต่ำ ๆ ทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ เกลี้ยง เปลือกและใบมีกลิ่นหอมอบเชย (cinnamon)

ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 7.5 ซม. ยาว 7.5 – 25 ซม. เนื้อใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ๆ ก้านใบยาว 0.5 ซม.

ดอก มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาว 10 – 25 ซม. ดอกมีกลิ่นเหม็น

ผล มีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 ซม. แข็ง ตามผิวมีคราบขาว ๆ แต่ละผลมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลเป็นรูปถ้วย

ประโยชน์/สรรพคุณ
ราก ต้มน้ำให้สตรีดื่มหลังคลอดหรือผ่าตัด ลำต้น เป็นยาถ่าย น้ำยางจากใบ ทาแผลถอนพิษของยางน่อง เมล็ด ทุบให้แตกแล้วผสมกับน้ำผึ้งให้เด็กรับประทานแก้บิด แก้ไอ
พิมพ์ QR Code