หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : ลำดวน

ชื่อต้น : ลำดวน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sphaerocoryne lefevrei (Baill.) D. M. Johnson & N. A. Murray
วงศ์ ANNONACEAE
ชื่ออื่น ๆ หอมนวล

ลักษณะทั่วไป
ไม้ ต้นสูง 8-20 เมตร ลำต้นตรง ทรงพุ่มรูปกรวยทึบ
ใบ เดี่ยว ออกสลับรูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม.ยาว 5-11.5 ซม.ปลายและโคนแหลมหรือมน
ดอก สีนวล กลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกหนาชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออกชั้นใน 3 กลีบหุ้มเข้าหากันเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม.เกสรตัวผู้จำนวนมาก
ผล เป็นผลกลุ่ม เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว

ประโยชน์/สรรพคุณ
ประโยชน์ของลำดวน :
1. ผลสุกของลำดวนมีสีดำ มีรสหวานอมเปรี้ยว ใช้รับประทานได้
2. ดอกมีกลิ่นหอม รสเย็น นอกจากจะจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเก้าแล้ว ยังใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอมอีกด้วย
3. ดอกลําดวนมีขนาดใหญ่และงดงามกว่าดอกนมแมว จึงนิยมนำมาใช้บูชาพระและใช้แซมผม อีกทั้งหญิงไทยในสมัยก่อนก็ชื่อลำดวนกันทั่วไป
4. ดอกสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยการต้มกลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08
5. นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามสวน เพราะต้นลำดวนมีพุ่มใบสวย ดอกสวยมีกลิ่นหอม และต้นลำดวนยังเป็นพรรณไม้ที่ในวรรณคดีไทยหลายๆ เรื่องกล่าวถึง เช่น ลิลิตพระลอ รามเกียรติ์ สมุทรโฆษคำฉันท์ อิเหนา เป็นต้น โดยจะนิยมนำมาปลูกสวนสาธารณะร่วมกับไม้ดอกหอมชนิดอื่นๆ
6. ในด้านของความเชื่อ คนไทยเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นลำดวนหรือเป็นเจ้าของต้นลำดวน จะช่วยดึงดูดความรัก ช่วยเสริมดวงทางเสน่ห์เมตตา ทำให้มีแต่คนคิดถึงในแง่ดี ทำให้เป็นคนที่น่าจดจำ ใครๆ ก็มิอาจลืม และยังเชื่อด้วยว่ากลิ่นหอมของลําดวน สามารถช่วยผ่อนคลายอารมณ์ทางจิตให้สงบและมีความใจเย็นมากขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้หญิงและควรปลูกในวันพุธ เพราะลำดวนเป็นไม้ของผู้หญิง โดยให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน
7. บางข้อมูลระบุว่าเนื้อไม้ของต้นลำดวนมีความแข็งแรงทนทาน สามารถนำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้ และนำมาใช้ทำฟืนได้ดี

สรรพคุณของลำดวน :
1. ดอกแห้งมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (ดอกแห้ง)
2. ดอกแห้งเป็นยาบำรุงโลหิต (ดอกแห้ง)
3. ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอกแห้ง)
4. ดอกใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียน (ดอกแห้ง)
5. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ดอกแห้ง)
6. ช่วยแก้อาการไอ (ดอกแห้ง)
7. ดอกลำดวนแห้งจัดอยู่ใน ?พิกัดเกสรทั้งเก้า? (ประกอบไปด้วย เกสรดอกบัวหลวง ดอกกระดังงา ดอกจำปา ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกสารภี ดอกลำเจียก และดอกลําดวน) ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเหลีบ ช่วยบำรุงหัว แก้พิษโลหิต แก้ลม (ดอก)

การกระจายพันธุ์ : ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 50-200 เมตร

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัด ศรีสะเกษ
พิมพ์ QR Code