Home / Knowledge / ชื่อต้น : ประดู่ป่า

ชื่อต้น : ประดู่ป่า

วงศ์ FABACEAE
​ชื่ออื่นๆ ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ประดู่ป่า (ภาคกลาง), ประดู่เสน (ราชบุรี สระบุรี)

ลักษณะทั่วไป ไม้ ไม้ต้นขนาดใหญ่สูง 15-30 เมตร เนื้อแข็ง เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกหนาสีน้ำตาลดำแตกเป็นร่องลึกหรือเป็นแผ่นหนา สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีน้ำตาล สับเปลือกมีน้ำยางสีแดง ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ดอก ดอกช่อกระจะ สีเหลือง ผล ผลมีปีกโดยรอบ ฝักกลมแบน
การกระจายพันธุ์ พบในประเทศพม่า กัมพูชา ไทย และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ พบบริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งที่ระดับความสูงไม่เกิน 800 เมตร

ประโยชน์/สรรพคุณ
1. เนื้อไม้ สีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรง ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเสา พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี
2. เปลือก สมานแผล แก้ท้องเสีย แก่น รักษาคุดทะราด แก้ไข้ บำรุงกำลัง แก้พิษ เบื่อเมา แก่ผดผื่นคัน และทำให้เลือดลมซ่าน ใช้ย้อมผ้า เปลือก ใช้ฟอกหนัง
​3. ใบ พอกฝี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน
Print QR Code