วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่นๆ ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ประดู่ป่า (ภาคกลาง), ประดู่เสน (ราชบุรี สระบุรี)
ลักษณะทั่วไป ไม้ ไม้ต้นขนาดใหญ่สูง 15-30 เมตร เนื้อแข็ง เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกหนาสีน้ำตาลดำแตกเป็นร่องลึกหรือเป็นแผ่นหนา สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีน้ำตาล สับเปลือกมีน้ำยางสีแดง ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ดอก ดอกช่อกระจะ สีเหลือง ผล ผลมีปีกโดยรอบ ฝักกลมแบน
การกระจายพันธุ์ พบในประเทศพม่า กัมพูชา ไทย และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ พบบริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งที่ระดับความสูงไม่เกิน 800 เมตร
ประโยชน์/สรรพคุณ
1. เนื้อไม้ สีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรง ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเสา พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี
2. เปลือก สมานแผล แก้ท้องเสีย แก่น รักษาคุดทะราด แก้ไข้ บำรุงกำลัง แก้พิษ เบื่อเมา แก่ผดผื่นคัน และทำให้เลือดลมซ่าน ใช้ย้อมผ้า เปลือก ใช้ฟอกหนัง
3. ใบ พอกฝี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน