ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L.) R. Br.
วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ๆ ตีนเป็ด,กะโน้ะ,จะบัน,ตีนเป็ดดำ,บะซา, ปูลา, ปูแล,หัสบรรณ
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นสูง 10-30 เมตร ผลัดใบทรงพุ่มแผ่เป็นชั้นๆ คล้ายร่ม เปลือกสีเทาปนดำ
ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบข้อ 4-7 ใบ รูปหอกแกมรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม.ยาว 5-15 ซม.ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม
ดอกสีขาวเหลือง มีกลิ่นฉุนออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว 1-2 มม.กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉกมีขน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.เกสรตัวผู้ 5 อัน
ผลเป็นฝัก รูปกลมยาว เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดจำนวนมากมีปุยปลิวตามลม
ประโยชน์/สรรพคุณ
ราก ขับลมในลำไส้ เปลือกต้น รักษาโรคบิด ขับพยาธิไส้เดือน แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ยาสมานลำไส้ ใบ ใช้พอกดับพิษ ยาง รักษาแผลเน่าเปื่อย บำรุงกระเพาะและผสมน้ำมันแก้ปวดหู
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสมุทรสาคร