หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : มะเม่าดง

ชื่อต้น : มะเม่าดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma bunius (L.) Spreng.
วงศ์ PHYLLANTHACEAE
ชื่ออื่น ๆ บ่าเม่าฤๅษี, เม่าช้าง, แมงเม่าควาย (จันทบุรี)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. แยกเพศต่างต้น ลำต้นมักมีร่องและพูพอน มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงประปรายหรือหนาแน่นตามกิ่งอ่อน หูใบ ก้านใบ แผ่นใบด้านล่าง ใบประดับ และกลีบเลี้ยง หูใบรูปแถบ ยาว 4–6 มม. ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปรีถึงรูปใบหอกหรือแกมรูปไข่กลับ ส่วนมากยาว 10–18 ซม. ปลายแหลมยาว โคนแหลมหรือกลม ก้านใบสั้นหรือยาวกว่า 1 ซม. ช่อดอกคล้ายช่อกระจะออกตามซอกใบ ใบประดับขนาดเล็ก แต่ละใบประดับมีดอกเดียว ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเกินกึ่งหนึ่ง ปลายแยกเป็น 3 กลีบ ปลายมนกลม ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ยาวได้ถึง 25 ซม. แยกแขนง ดอกไร้ก้าน กลีบเลี้ยงยาว 3–4 มม. จานฐานดอกเป็นวงหรือจักเป็นพู เกสรเพศผู้ 3–4 อัน ยื่นพ้นหลอดกลีบเลี้ยงเล็กน้อย ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่าเพศผู้ ก้านดอกยาว 0.5–2 มม. ขยายในผล จานฐานดอกเป็นวง รังไข่เกลี้ยงหรือมีขนประปราย มีช่องเดียว ออวุล 2 เม็ด ยอดเกสรเพศเมีย 3–4 อัน สั้น ติดทน ผลรูปรี ยาว 0.5–1.2 ซม. ผลแก่สีแดงเปลี่ยนเป็นสีดำ ส่วนมากมีเมล็ดเดียว

ประโยชน์/สรรพคุณ
รากและใบมีพิษ แต่มีสรรพคุณแก้แผลฟกช้ำ
พิมพ์ QR Code