Home / Knowledge / ชื่อต้น : ตีนเป็ดทราย

ชื่อต้น : ตีนเป็ดทราย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cerbera manghas L.
วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ๆ ตีนเป็ดเล็ก (กลาง สุราษฎร์ธานี)/ เทียนหนู เนียนหนู (สตูล)/ ปงปง (พังงา)/ ปากเป็ด (ตราด)/ รักขาว (จันทบุรี เหนือ)

ลักษณะทั่วไป
ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 ซม.ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว เปลือกเรียบสีเทา มี
ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง อยู่เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปไข่กลับยืดตัว กว้าง 4-7 ซม. ยาง 14-25 ซม. ปลายใบป้าน ฐานใบแคบขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบโค้งเหมือนคันศร ก้านใบยาว 1-2 ซม.ท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน
ออกดอกเป็นช่อกระจุก ที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 1.5-2.0 ซม. กลีบเลี้ยงแยก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สองกลีบด้านนอกจะใหญ่กว่า 3 กลีบด้านใน กลีบเล็กรูแถบแกมรูปไข่กลีบ กลีบใหญ่รูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงคลี่ออกตั้งฉากกับก้านดอกตั้งแต่ดอกยังตูม ดอกสีขาว ปากหลอดสีชมพูปนแดงเข้ม โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเขียว ปลายหลอดพองออกเล็กน้อย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเมื่อตูมจะซ้อนกัน เวียนเป็นเกลียว กลีบดอกรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ปลายด้านหนึ่งจะแหลมกว่าปลายอีกด้านหนึ่ง ปลายกลีบโค้งและหยัก มีรยางค์แหลมยื่นออกมาที่ปากหลอดระหว่างกลีบดอก
ผลเกิดเป็นคู่ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-9 ซม. ผิวผลสีเขียวเป็นมัน เมื่อสุกสีแดงปนดำ เนื้อนิ่ม
เมล็ด แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้

ประโยชน์/สรรพคุณ
นิยมปลูกเป็นพืชประดับ
ผลมี cardiae glycoside มีความเป็นพิษสูง และก่อให้เกิดการระคายเคือง
Print QR Code