主页 / 知识 / ชื่อต้น : ไผ่ไร่

ชื่อต้น : ไผ่ไร่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gigantochloa albociliata  (Munro) Kurz
วงศ์ POACEAE
ชื่ออื่น ๆ บูโละมาตารูสะ (มาเลย์–สตูล) ไผ่ซอด (เลย) ไผ่ตากว้าง (สตูล สุราษฎร์ธานี) ไฮ่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป
ไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดเล็ก สูง ๓–๑๐ ม. ลำตรงอัดกันเป็นกอแน่น ปลายลำโค้งออกลู่ลง ทำให้เห็นกอลักษณะเป็นซุ้มเส้นผ่านศูนย์กลางลำ ๒–๕ ซม. ปล้องยาว ๒๐–๕๐ ซม. ลำอ่อนมีขนสากปกคลุม ลำแก่สีเขียมอมเทา ข้อบวมเด่น ใบ รูปเเถบแกมรูปใบหอก กว้าง ๒–๓ ซม. ยาว ๑๐–๒๐ ซม. กาบหุ้มลำสีเขียว สีเขียวอมเหลือง มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม ใบยอดกาบสีเขียวรูปใบหอก ดอก ช่อดอกย่อยเทียม ยาว ๑–๒ ซม. มักโค้งเล็กน้อย ดอกย่อยสมบูรณ์ ๑–๒ ดอก ดอกเพศผู้ ๑–๒ ดอก เกสรเพศผู้ ๖อัน ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ยอดเกสรเพศเมีย ๑ อัน ในไทยพบตามป่าผลัดใบป่าดิบเเล้ง ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีนถึงอินโดนีเซียอินเดีย

การจักสานไผ่ลายขิด เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งหาผู้มีความรู้ ความชำนาญอย่างแท้จริงไม่ได้แล้ว ยังคงเหลือเพียงครอบครัวเดียวที่ อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงขอให้มาสอนสมาชิกศิลปาชีพที่อายุน้อย ๆ ให้สามารถจักสานไม้ไผ่ลายขิด ถ่ายทอดต่อไปยังอนุชนรุ่นหลัง เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมการจักสานแขนงนี้ไม่ให้สูญหายไป เป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้ให้ยั่งยืนสืบไป

ประโยชน์/สรรพคุณ
ใช้ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตร จักสาน เยื่อกระดาษ หน่อกินได้
打印二维码