หน้าแรก / ความรู้ / ชื่อต้น : ลำเจียก

ชื่อต้น : ลำเจียก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi
วงศ์ PANDANACEAE
ชื่ออื่น ๆ การะเกดด่าง, ลำเจียกหนู, เตยดง, เตยด่าง

ลักษณะทั่วไป
ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงประมาณ 3-7 ม. รูปทรงของต้นคล้ายต้นเตย ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ซม. บริเวณโคนต้นเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยค้ำจุนต้น
ใบ เดี่ยวมีสีเขียว รูปขอบขนานแคบ ออกเรียงเวียนสลับกันเป็นเกลียว 3 เกลียวรอบลำต้น ขนาดใบยาว 1-2 ม. ลักษณะใบคล้ายใบสับปะรด ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแผ่ออกเป็นกาบใบ ขอบเป็นหนามห่าง ๆ แผ่นใบด้านล่างมีนวล
ดอก ดอกแบบแยกเพศต่างลำต้น ดอกออกเป็นช่อตั้งจำนวนมากบริเวณกลางยอด ไม่มีกลีบดอกและกลีบรองดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ขนาดยาว 25-60 ซม. มีกาบหุ้มดอกสีเหลืองนวลหุ้มเกสรอยู่ภายในอย่างมิดชิด ดอกมีกลิ่นหอมเย็น ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม ประกอบด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกันประมาณ 3-5 อัน แยกเป็นกลุ่ม 5-12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มกว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นวง
ผล ผลออกเบียดแน่นเป็นก้อนกลม ลักษณะผลเป็นรูปไข่กลับถึงรูปรีคล้ายสับปะรด ห้อยลงมาข้างต้น ขนาดผลกว้าง 2-6.5 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. โคนผลมีสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ส่วนปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อผลสุกจะมีกลิ่นหอม ผลที่แก่จัดสีเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และมีโพรงอากาศจำนวนมาก ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวภายใน
เมล็ด เมล็ดเดี่ยวภายในผล สามารถรับประทานได้

ประโยชน์/สรรพคุณ
ดอก แก้โรคในอก แก้อาการเจ็บหน้าอก ใช้ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ แก้เสมหะ แก้เจ็บคอ และบำรุงธาตุ
ยอด บำรุงสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ
พิมพ์ QR Code