ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ochna integerrima (Lour.) Merr.
วงศ์ OCHNACEAE
ชื่ออื่น ๆ กระแจะ, กระโดงแดง, กำลังช้างสาร, ขมิ้นพระต้น, ควุ, แง่ง, ช้างโน้ม, ช้างโหม, ตาชีบ้าง, ตานนกกรด, ตาลเหลือง, ฝิ่น, โว้โร
ลักษณะทั่วไป
ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1-8 ม. ลำต้นคดงอ มีกิ่งก้านต่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปใบกอก กว้าง 4-7 ซม ยาว 8-20 ซม. ขอบใบหยักคล้ายซี่เลื่อย เนื้อใบเนียนเกลี้ยง เส้นใบละเอียด ดอก สีเหลืองขนาดผ่าศูนย์กลาง 3-4 ซม. ออกเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบใกล้ยอด กลีบรองดอก 5 กลีบ จะคงอยู่และเปลี่ยนเป็นกลีบผลสีแดงคล้ำ กลีบดอก 5-10 กลีบ หลุดร่วงง่าย เกสรผู้จำนวนมาก ผล ค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำผิวมัน
ประโยชน์/สรรพคุณ
สามารถนำมาพัฒนาเป็นไม้ประดับได้ ราก เป็นยาขับพยาธิและฟอกน้ำเหลือง รากขับพยาธิ แก้น้ำเหลืองเสีย เปลือก แก้ปวดตา แก้ตาเคือง เนื้อไม้ แก้กระษัย ขับพิษเสมหะ และโลหิต แก้ปวดเมื่อย ถ่ายพิษตับ แก้ปวดท้อง คลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อท้อง และรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัด มุกดาหาร