,
/ / ชื่อต้น : ยอ

ชื่อต้น : ยอ

วงศ์ RUBIACEAE
ชื่ออื่น ๆ กะมูดู (มาเลย์–นาราธิวาส), เคาะขมิ้น มะตาเสือ สะเกย หัสเกย (ภาคเหนือ), ตะเกรย (ราชบุรี), ตะลุมพุก (ขอนแก่น), ยอเถื่อน (ชุมพร), ยอบ้าน (ภาคกลาง), ยอป่า (ภาคเหนือ สตูล ตรัง),

ลักษณะ ไม้ต้น สูง 2–10 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 8–15 ซม. ยาว 10–20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาล มีหลายเมล็ดพบที่อินเดีย ศรีลังกา ไห่หนาน ไต้หวัน ญี่ปุ่น พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ทางตอนบนของออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค

สรรพคุณ/ประโยชน์ ราก ระบายท้อง ใบ แก้ท้องร่วง แก้ปวดตามข้อ แก้ไข้ บำรุงธาตุ ผลดิบ ขับโลหิตระดู ขับเลือดลม แก้ลมวิงเวียน แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้เหงือกเปื่อยบวม และควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ