,
/ / ชื่อต้น : มะกล่ำต้น

ชื่อต้น : มะกล่ำต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina L.
วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่น ๆ มะกล่ำตาช้าง, มะแคก (เงี้ยว–แม่ฮ่องสอน), มะแดง, มะหัวแดง, มะโหกแดง (ภาคเหนือ), หมากแค้ก (เงี้ยว–แม่ฮ่องสอน), อีหลำ(อุบลราชธานี), Bead tree, Coral tree Red lucky seed, Red sandalwood

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นสูง ๕–๒๐ ม. ใบ ประกอบ แบบขนนก ๒ ชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง ๑–๓.๕ ซม. ยาว ๒–๕.๕ ซม. ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบรูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผล. เป็นฝัก เมล็ดค่อนข้างกลมสีแดง ผิวมัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕–๗ มม. พบทุกภาคของประเทศไทย ตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ที่ระดับ ความสูง ๕๐–๔๐๐ ม. เหนือระดับทะเล ต่างประเทศพบที่เอเชียเขตร้อน อินเดีย

ประโยชน์/สรรพคุณ
ราก ขับเสมหะ แก้เสียงแหบแห้ง สะอึก อาเจียน ถอนพิษฝี เนื้อไม้ รักษาหืดไอ แก้ปวดศรีษะ แก้อาเจียน ใบ แก้ปวดข้อ แก้บิด แก้ท้องเสีย สมานแผล เมล็ด แก้จุกเสียด แก้หนองใน รักษาบาดแผล

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัด สิงห์บุรี