,
/ / ชื่อต้น : โพศรีมหาโพ

ชื่อต้น : โพศรีมหาโพ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus religiosa L.
วงศ์ MORACEAE
ชื่ออื่น ๆ ปู (เขมร) โพ (ภาคกลาง) ย่อง (เงี้ยว–แม่ฮ่องสอน) สลี (ภาคเหนือ) Bodhi, Pipal tree, Sacred fig.

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ กึ่งอิงอาศัย (hemi-ephiphyte) ต้นที่ขึ้นเดี่ยวๆ มักจะเกิดจากการปลูก สูงได้ประมาณ 35 เมตร หูใบยาว 0.5-1 ซม. หลุดร่วงง่าย ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ ยาว 5-25 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบตัดหรือรูปหัวใจ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านล่างมีซิสโทลิท (cystolith) คล้าย ๆ กับผลึกของแคลเซี่ยมคาร์โบเนทที่ผิวใบ ก้านใบยาว 2.5-12 ซม. ดอก (figs) ออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามซอกใบ ไร้ก้าน มีใบประดับเล็กที่โคน ฐานดอกทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. สุกเปลี่ยนเป็นสีชมพู ม่วงหรือดำ มีช่องเปิดเล็กๆ ด้านปลาย เกสรเพศผู้เรียงตัวใกล้ช่องเปิด กลีบรวมสีแดง รังไข่สีน้ำตาลแดง

นับตั้งแต่บรรพชาได้ ๖ พรรษา พระมหาบุรุษได้ศึกษาและทดลองทุกวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งธรรมวิเศษ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานพระวรกายให้ลำบากด้วยวิธีต่างๆ ภายหลังเมื่อมีพระดำริว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยาไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ จึงได้ทรงเลิกแล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารดังเดิม
ฝ่ายพราหมณ์ทั้ง ๕ ที่มาปรนนิบัติ เมื่อเห็นพระมหาบุรุษล้มเลิกความเพียรก็เกิดความเสื่อมศรัทธา จึงหลีกหนี เมื่อพระมหาบุรุษทรงหันกลับมาเสวยพระกระยาหาร อีกทั้งมีความสงัดปราศจากสิ่งรบกวน ก็ทรงเริ่มบำเพ็ญความเพียรทางจิต และได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ที่ใต้ร่ม อัสสัตถพฤกษ์ หรือต้นพระศรีมหาโพธิ

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดปราจีนบุรี

ประโยชน์/สรรพคุณ
ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา เป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ผลเป็นอาหารให้แก่นกผลเป็นอาหารให้แก่นก เป็นต้นไม้เพียงต้นเดียวที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติ
มักพบเห็นปลูกตามวัดวาอารามต่าง ๆ และเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ