,
/ / ชื่อต้น : โนรา

ชื่อต้น : โนรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hiptage benghalensis (L.) Kurz subsp. Benghalensis
วงศ์ MALPIGHIACEAE
ชื่ออื่น ๆ กำลังช้างเผือก (ภาคเหนือ), พญาช้างเผือก (แพร่), สะเลา (เชียงใหม่)

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะ ไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อย ใบรูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ยาว 5–18 ซม. ปลายใบส่วนมากแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบยาว 0.3–1.3 ซม. ช่อดอกยาว 4–30 ซม. ก้านช่อสั้นหรือยาวได้ถึง 4 ซม. ก้านดอกยาว 0.8–2 ซม. ขยายในผล มีข้อประมาณกึ่งกลางก้านดอก กลีบเลี้ยงรูปไข่ยาวประมาณ 2.5 มม. มี 1 กลีบที่มีต่อมต่อมยาว 2–4 มม. เรียวจรดก้านดอก ดพอกสีขาวมีปื้นสีเหลืองด้านใน กลีบรูปขอบขนานหรือกลมๆ เส้นผ่านศูนย์กลาง 6–8 มม. เกสรเพศผู้อันยาว ยาวประมาณ 1 ซม. อันสั้นยาว 3–6 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. ผลมีขนสั้นคล้ายไหม ปีกกลางรูปขอบขนานยาว 3–6 ซม. ปีกข้างยาว 1.5–3 ซม. มีสันนูนหรือมีปีกด้านหลังสั้น ๆ ยาว 5–8 มม. พบที่อินเดีย พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้นใกล้ชายฝั่งทะเล หรือเขาหินปูน ที่ระดับความสูงถึงประมาณ 2,000 ม.

ประโยชน์/สรรพคุณ
ใบและดอก แก้ไข้ร้อนใน อาการอักเสบ และโรคผิวหนัง เปลือก บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงเส้นเอ็น แก่น บำรุงกำหนัด ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย และแก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ใบ รักษาโรคผิวหนัง