,
/ / ชื่อต้น : คอแห้ง (เฉียงพร้านางแอ)

ชื่อต้น : คอแห้ง (เฉียงพร้านางแอ)

วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น ๆ แก๊ก วงคด วงคต (ลำปาง), ขิงพร้า เขียงพร้า (ตราด ประจวบคีรีขันธ์), เขียงพร้านางแอ (ชุมพร), คอแห้ง สีฟัน (ภาคใต้), เฉียงพร้า ตะแบง (สุรินทร์), ต่อใส้ สันพร้านางแอ (ภาคกลาง), นกข่อ ส้มป้อง (เชียงใหม่), บงคด (แพร่), บงมัง (ปราจีนบุรี อุดรธานี), ร่มคมขวาน (กรุงเทพฯ), สีฟันนางแอ (ภาคเหนือ), โองนั่ง (อุตรดิตถ์)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีครีม ผลสด รูปกลม เมื่อสุกสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเมื่อสุกจัด พบที่ มาดากัสการ์ อินเดีย ภูฏาน ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ออสเตรเลียตอนบน และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าพรุ และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1,300 ม.

ประโยชน์/สรรพคุณ
ปลูกตกแต่งภูมิทัศน์ เปลือก แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะและโลหิต สมานแผล แก้บิด แก้พิษผิดสำแดง ลำต้น แก้ไข้ บำรุงร่างกาย และช่วยเจริญอาหาร ผลสุก เป็นอาหารสัตว์