,
/ / ชื่อต้น : ตะเคียนทอง

ชื่อต้น : ตะเคียนทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb.
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น ๆ แคน, จะเคียน, ตะเคียน, ตะเคียนใหญ่, Iron wood

ลักษณะทั่วไป
ไม้ ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 20-40 เมตร
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ
ดอก ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกเดือน ก.พ.-มี.ค.
ผล ผลมีปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก ติดผลเดือน เม.ย.-พ.ค.
การกระจาย พบขึ้นในพม่า ลาว ตอนใต้ของเวียดนาม กัมพูชา ไทยและมาเลเซียพบขึ้นตามป่าดงดิบใกล้ลำธาร ที่ความสูง 100-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ในพระพุทธศาสนากล่าวว่า พุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์จะทำยมกปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี ฝ่ายเดียรถีย์ก็จะแสดงปาฏิหาริย์แข่งบ้าง จึงมีการสร้างมณฑลขึ้นโดยมีเสาทำด้วยไม้ตะเคียนทอง หลังคาทำด้วยดอกนิลอุบล อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า พวกสิริคุตถ์ ศิษย์ของพระศาสดา ได้หลอกให้พวกนิครนถ์ซึ่งเป็นอาจารย์ของพวกครหพินน์ตกลงไปในหลุมอุจจาระ ทำให้ได้รับความอับอาย ครหพินน์จึงคิดที่จะแก้แค้นสิริคุตถ์ โดยมุ่งไปที่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพวกสิริคุตต์ ด้วยการทำหลุมไฟซึ่งใช้ไม้ตะเคียนเป็นเชื้อเพลิง และทำกระดานกลปิดไว้ที่ปากหลุม แต่พอพระพุทธองค์จะตกลงไปในหลุม กลับเกิดปาฏิหาริย์มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับก้าวพระบาทไว้ เปลวเพลิงจึงมิอาจทำอันตรายใดๆ แก่พระพุทธองค์ได้

ประโยชน์/สรรพคุณ
1. เปลือก แก้ปวดฟัน แก้เหงือกอักเสบ
2. เนื้อไม้ แก้คุดทะราด แก้ท้องร่วงแก้กำเดา สมานแผล ใช้ทำบ้านเรือน เสา ด้ามเครื่องมือกสิกรรมพื้นกระดานไม้ฟืน แก่น รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้บิด แก้กำเดาสมานแผล ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ
3. ยาง รักษาบาดแผล แก้ท้องเสีย
4.ชัน ใช้ทำน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ยาแนวเรือ ฯ

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัด ปัตตานี