,
/ / ชื่อต้น : พะยูง

ชื่อต้น : พะยูง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre
วงศ์ FABACEAE
ชื่ออื่น ๆ ขะยูง, แดงจีน, ประดู่ตม, ประดู่น้ำ, ประดู่ลาย, ประดู่เสน, พะยูงไหม, Siamese rosewood

ลักษณะทั่วไป
ไม้ ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-25 เมตร เรือนยอดรูปทรงกลมหรือรูปไข่ ทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา เรียบ และล่อนเป็นแผ่นบาง ๆ เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ก้านใบรวมแกน ช่อใบยาว 10-15 เซนติเมตร แต่ละช่อมีใบย่อยรูปไข่แกมขอบขนานเรียงสลับ 7-9 ใบ กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมนกลมหรือเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ แล้วค่อย ๆ เรียวสอบแหลมไปทางปลายใบ หลังใบมันสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ ใบเกลี้ยงไม่มีขนทั้งสองด้าน ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ยอด ผล เป็นฝัก รูปขอบขนาน แบนบางบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้มกว้างประมาณ1.2 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร มี 1-4 เมล็ด ออกดอกเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ฝักแก่ประมาณ 3-4 เดือน หลังจากออกดอก

ประโยชน์/สรรพคุณ
เนื้อไม้ เนื้อละเอียด สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วง หรือสีม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วสีดำเป็นเสี้ยนสน เหนียว แข็งทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ เครื่องแกะสลัก หวี ไม้เท้า และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ทำเครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย ซอ ลูกระนาด

การขยายพันธุ์และวิธีการปลูก :
การขยายพันธุ์ไม้พะยูง คือ การเพาะเมล็ดให้เป็นต้นกล้า ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูก อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระยะ?3x3?หรือ?2x3?เมตร ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยต้นละ?1?ช้อนชา เพื่อช่วยให้กล้าไม้สามารถตั้งตัว และแข่งขันกับวัชพืชได้ (อภิชาติ, รัตนวิระกุล 2546)

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัด หนองบัวลำภู