,
/ / ชื่อต้น : คำมอกหลวง

ชื่อต้น : คำมอกหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : <i> Gardenia sootepensis Hutch.
วงศ์ RUBIACEAE
ชื่ออื่น ๆ ไข่เน่า, คำมอกช้าง, ผ่าด้าม, ยางมอกใหญ่, แสล่งหอมไก๋, หอมไก๋

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น สูง 7-15 เมตร มีน้ำยางสีเหลือง ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 4-15 เซนติเมตร มีชันสีเหลืองใสหุ้มที่ปลายยอด ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง สีเหลืองกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยงโนเป็นหลอดยาว 4-6 มิลลิเมตร กลีบดอกโคนเป็นหลอดยาว 4.5-8 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ กว้าง 2.25 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร ยอดเกษรเพศเมียรูปกระบอง ผล ผลสด รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.8-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.2-4 เซนติเมตร การกระจาย ประเทศจีนตอนใต้ ลาว พม่า พบตามป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูง เกิน 900 เมตร ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของไทย ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน ติดผลตั้งแต่เดือน พฤษภาคม

ประโยชน์/สรรพคุณ
1. ยางบริเวณยอดอ่อน ใช้อุดรูรั่วภาชนะในครัวเรือน 2. เมล็ดเป็นยาสระผมและฆ่าเหา 3. ผล สุก รับประทาน และใช้สระผมให้ผมเงางาม และเป็นยาฆ่าเหา