,
/ / ชื่อต้น : สมอพิเภก

ชื่อต้น : สมอพิเภก

ลักษณะทั่วไป
ไม้ ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตร ผลัดใบเรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมลำต้นเปลาตรงมีพูพอนเปลือกสีน้ำตาลปนเทาผิวเรียบเป็นสะเก็ดบางๆ หรือ แตกเป็นร่องเล็กตามยาวลำต้น กิ่งอ่อนมีขนประปราย
ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากใบรูปไข่กลับหรือรูปมนแกมรูปไข่กลับกว้าง 9-15 ซม.ยาว 13-19 ซม.กึ่งกลางก้านใบมีต่อม 1 คู่ ปลายใบมน หรือเป็นติ่งสั้นโคนใบสอบหรือรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มมีขนสีน้ำตาลอ่อน ด้านล่างสีเทามีขนนุ่ม ขนจะร่วงเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบข้างละ 6-7 เส้น ก้านใบยาว 4-6 ซม.
ดอก สีขาวอมเหลืองมีกลิ่นฉุนออกเป็นช่อหางกระรอกบนกิ่งหรือตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่อยู่ตามปลายช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศอยู่ตามโคนช่อ วงกลีบรวมมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมเป็นรูปถ้วย มีขน ไม่มีกลีบดอกเกสรเพศผู้ มี 10 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 มม.
ผล สดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียวรูปไข่ กว้าง 1.5-2 ซม.ยาว 2.5-3 ซม.ไม่มีครีบมีเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ตามผิวมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น

การกระจายพันธ์ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้นและแล้ง ป่าดิบทางภาคใต้ ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ออกดอกเดือน ธันวาคม - มีนาคม
ประโยชน์ 1. เปลือก ผล ให้สีเขียว ดำ ใช้ย้อมไหมและฝ้าย
2. ผลดิบ รับประทานเป็นยาระบาย ผลสุก ใช้เป็นยาสมาน ใช้รักษาโรคท้องมาน ริดสีดวง