,
/ / ชื่อต้น : กระเบา

ชื่อต้น : กระเบา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnocarpus castaneus Hook.f. & Thomson
วงศ์ ACHARIACEAE
ชื่ออื่น ๆ กระเบาค่าง (ยะลา) กระเบาแดง (ตรัง) กระเบาตึก (เขมร-ภาคตะวันออก) กระเบาน้ำ, กระเบาเบ้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กาหลง (ภาคกลาง) ตัวโฮ่งจี๊ (จีน) เบา (สุราฎร์ธานี) เบาดง (สตูล); มันหมู (ตรัง) หัวค่าง (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. แยกเพศร่วมต้น มีขนรูปดาวสั้น ๆ ประปรายตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก ก้านดอก และกลีบเลี้ยง ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 10–30 ซม. ปลายแหลมยาว ขอบเรียบ ก้านใบยาวได้ถึง 2 ซม. ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาวประมาณ 8 มม. ดอกสีครีม กลีบรูปรี ยาวได้ถึง 1.4 ซม. เกล็ดที่โคนเรียวแคบ ขอบมีขนครุย เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 มม. เกลี้ยง อับเรณูยาวประมาณ 3 มม. เป็นหมันในดอกเพศเมีย รังไข่มีขนหนาแน่น เป็นหมันในดอกเพศผู้ ออวุลมีขนยาว ผลรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวได้ถึง 12 ซม. มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลหนาแน่น ผนังผลชั้นกลางหนาประมาณ 1 ซม. เมล็ดยาวประมาณ 2 ซม. มีขนยาว

ประโยชน์/สรรพคุณ
สารสกัดจากเมล็ดใช้ทาแก้โรคผิวหนังหลายชนิดรวมทั้งโรคเรื้อน