,
/ / ชื่อต้น : กุมาริกา

ชื่อต้น : กุมาริกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Urceola laevigata (Juss.) D. J. Middleton & Livsh.
วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ๆ เครือเขามวกขาว (เหนือ)/ เครือเขามวก (หนองคาย เหนือ)/ เครือซูด (สระบุรี อุบลราชธานี)/ ช้างงาเดียว (กลาง ประจวบคีรีขันธ์)/ ตังติด (จันทบุรี)/ ตั่งตู้เครือ (เหนือ)/ เถาประหล่ำผี (ชัยนาท)/ มวก(ปราจีนบุรี)/ ส้มเย็น(สตูล)/ ส้มลม (ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ)

ลักษณะทั่วไป
ต้น ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง กิ่งก้านเลื้อยได้ไกล 3 ม. มียางสีขาว
ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบบิดเป็นคลื่น แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันหนา
ออกดอกเป็นช่อแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อย 60-80 ดอก ดอกเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบเรียงเวียนซ้อนเหลื่อมกัน เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม. ดอกบานพร้อมกันทั้งช่อ มีกลิ่นหอม
ผล เป็นฝักคู่ ฝักคอดเป็นระยะ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บด้านเดียว
เมล็ด มี 4-10 เมล็ด ต่อฝัก ที่ปลายเมล็ดมีขนสีขาว
ขึ้นตามชายป่าหรือในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูง 0-900 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ประโยชน์/สรรพคุณ
ปลูกเป็นสมุนไพร,พืชประดับ
ทุกส่วน ของพืชใช้ในการรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคไตอักเสบและการบาดเจ็บ
เปลือก มีสรรพคุณทางยา ช่วยแก้ไข้