,
/ / ชื่อต้น : ฝ้าย / cotton

ชื่อต้น : ฝ้าย / cotton

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossypium herbaceum L.
วงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่น ๆ ฝ้ายเทศ , ฝ้ายชัน , ฝ้ายดอก, Cotton tree

ลักษณะทั่วไป
ฝ้ายเป็นไม้พุ่ม ลำต้น มีสีน้ำตาลแดงอาจเป็นเหลี่ยม ใบ เดี่ยว รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ก้านใบค่อนข้างยาว ดอก เดี่ยว มีใบประดับ 5 กลีบติดกัน กลีบดอกสีเหลือง ผล กลมปลายยาวแหลม เมล็ด รูปไข่ มีขนสีขาวยาว 3.7-5 เซนติเมตร รอบๆ เมล็ด

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงริเริ่มงานศิลปาชีพเพื่อให้แม่บ้านชาวนาชาวไร่มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ยามว่างหลังการทำนาทำไร่ โดยทรงนำวัตถุดิบพื้นบ้านและขนบประเพณีของพื้นบ้านมาเป็นอาชีพเสริมในหลายพื้นที่ โดยเริ่มจากโครงการทอผ้าฝ้ายที่เขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นโครงการพระราชดำริโครงการแรก

ในพระพุทธศาสนากล่่าวว่า เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้วได้แสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท จนมีพระสาวกอรหันต์ ๖๐ รูป ก็มีพระบัญชาให้พระสาวกเหล่านั้นออกไปประกาศศาสนาโปรดสรรพสัตว์ให้ทั่วถึง ส่วนพระพุทธองค์เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ระหว่างทางทรงปลีกวิเวกจากเส้นทางหลัก ประทับอยู่ในไร่ใต้ร่มฝ้ายต้นหนึ่ง

ประโยชน์/สรรพคุณ
เป็นเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้อื่นๆ ทำถุง ทำสายพานต่างๆ เชือก และยางรถ เส้นใยที่สั้นใช้ทำพรม และเครื่องใช้อื่นๆ เส้นใยที่ติดแน่นอยู่กับเมล็ด ( fuzz or linters) ใช้ทำเส้นใยเทียม เช่น เรยอน และผลผลิตอื่นๆ ที่ทำจากเซลลูโลส เมล็ดฝ้ายใช้หีบน้ำมัน ปุยฝ้ายทำสำลีและอุปกรณ์ใช้ในทางการแพทย์ และใช้เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันหลายชนิด น้ำมันเมล็ดฝ้ายใช้เป็นน้ำมันหุงต้ม แต่ต้องเอาสารบางชนิดออกก่อน ประโยชน์ทางสมุนไพรก็มี เช่น เปลือกรากฝ้ายเป็นยาบีบมดลูก

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ในสมัยอยุธยาตอนต้น การศึกสงครามระหว่างล้านนากับอยุธยา ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา ได้ให้รายละเอียดว่า นักรบฝ่ายอยุธยาสวมชุดเกราะนวมที่บุเสริมความหนาด้วยสำลีเพื่อป้องกันคมอาวุธจากข้าศึกศัตรู
Significance
A battle in the early Ayutthaya period between King Borommatrilokkanat of Ayutthaya and King Tilokanaj of Lanna is narrated that Ayutthaya warriors wore padded armored suits lined with cotton to prevent enemies’ weapons.